" รถใหม่ มาตรฐานสากล ได้รับรอง ISO 9001 & ISO 39001 "​
ประสบการณ์ดำเนินงานกว่า 20 ปี
Top 5 รถนำเที่ยวประเทศไทย
มีรถของบริษัทเอง กว่า 200 คัน
รถใหม่ มาตรฐานสากล
บริการด้วยใจ มี Service Mind
ได้รับรองมาตรฐาน Q Bus กรมการขนส่งทางบก
ได้รับรองมาตรฐาน Standard Bus for Tourism กรมการท่องเที่ยว

ทำไมหลายคนจึงเรียก รถโค้ช ว่า รถบัส?

ประวัติความเป็นมาอันยาวนานของ รถโค้ช กับ รถบัส

ในปัจจุบันเรามักจะเรียกประเภทของรถที่ลักษณะใหญ่ มีหลายที่นั่งพร้อมคนขับว่า “รถบัส” ไม่ว่าจะใช้เพื่อโดยสารประจำทางและไม่ประจำทาง แต่ความจริงแล้วในเชิงของนิยามและความหมายรถที่มีลักษณะดังกล่าว สามารถเรียกได้แตกต่างกันตามลักษณะการใช้งานและการให้บริการอีกด้วย เช่น “รถโค้ช” ที่หลายคนเรียกใช้แทนกันในบางครั้ง เพราะมีลักษณะที่มองภายนอกแทบจะไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย เพียงแต่เรานิยามคำใหม่ขึ้นมาเพื่อแบ่งประเภทตามการใช้งานหรือการใช้บริการที่มีความเฉพาะเจาะจงและแตกต่างกันเท่านั้นเอง

โดย รถบัส (Bus) มีรากศัพท์มาจากคำว่า (Omnibus) มีความหมายในภาษาละตินว่า “ทุกสิ่งทุกอย่าง” หรือ “สำหรับทุกคน” เราจะใช้เรียกชื่อรถโดยสารขนาดใหญ่ที่ให้บริการในการขนส่งสาธารณะ ส่วน รถโค้ช (Coach) มีที่มาจากคำว่า “โค้ช” ในทางกีฬา ซึ่งรถประเภทนี้ใช้เรียกชื่อรถสำหรับการขนส่งทีมกีฬาในอดีต เป็นรถโดยสารที่ใช้แบบเฉพาะกิจไม่ใช่สำหรับบุคคลสาธารณะทั่วไปเหมือนรถ Bus แต่ในปัจจุบันก็นำมาใช้สำหรับบริการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว หรือการเดินทางระยะยาวที่มีบริการด้วยรถที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น เช่น มีพื้นที่สำหรับติดตั้งโต๊ะ, ทีวี หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้โปรแกรมการเดินทางมีความพิเศษและประทับใจ

ความน่าสนใจของรถโดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้ ที่นอกจากเรื่องของความแตกต่างในการใช้งานแล้ว ยังมีเรื่องราวของประวัติศาสตร์ความเป็นมา รวมถึงวิวัฒนาการที่น่าสนใจที่ ธนัชวิชญ์ แทรเวล กรุ๊ป จำกัด จะขอนำมาเสนอในบทความ ดังนี้

วิวัฒนาการของรถโดยสารสาธาธารณะในอดีตจนมาเป็น รถบัส (Bus) 

รู้หรือไม่? ว่าการขนส่งสาธารณะในบางรูปแบบมีมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1820 ซึ่งถือว่าฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ก่อกำเนิดรถโดยสารสาธารณะเป็นแห่งแรก และได้มีเส้นทางรถโดยสารของตนเองขึ้นภายในปี 1828 หลังจากนั้นไม่นาน เมืองหลายแห่งในสหรัฐฯ และยุโรปก็ปฏิบัติตามกันมา แม้ในช่วงแรกถนนหนทางที่ปูด้วยหินและเป็นหลุมเป็นบ่อ จะยังไม่ใช่ประสบการณ์ที่สะดวกสบาย จนในช่วงทศวรรษที่ 1830 เมืองต่างๆ เริ่มวางรางเรียบบนถนนเหนือเส้นทาง Omnibus ที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ระบบรางระบบแรก และแน่นอนว่าระบบรางนี้ช่วยให้การเดินทางมีความสบายขึ้นมาก

ด้วยความสะดวกในการเดินทาง ทำให้เกิดการขยายตัวของรถโดยสารสาธารณะอย่างรวดเร็ว การพัฒนาที่ขยายออกไปตามขอบเมืองใหญ่ๆ และสหรัฐอเมริกาได้บุกเบิกการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษที่ 1880 จึงมีการวางทางรถไฟบนถนนมากกว่า 30,000 ไมล์ในสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว สามารถรองรับรถม้าได้มากกว่า 20,000 คัน นอกจากนั้นยังสร้างนวัตกรรมที่เพิ่มความปลอดภัยได้มากกว่าอย่าง เคเบิลคาร์ (Cable Car)  ผู้คิดค้น Cable Car นั้นคือ Hallidie ในปี 1873  ได้คิดค้นระบบที่ขับเคลื่อนด้วยสายเคเบิลแบบใหม่ที่ซานฟรานซิสโกโดย รถยนต์โดยสารจะมีแคลมป์ที่ด้านล่างสำหรับยึดสายเคเบิลไว้เมื่อถึงเวลาที่ต้องเคลื่อนย้าย และค่อยๆ คลายสายเคเบิลเมื่อต้องหยุด จากนั้นจึง สร้าง รถบัส คันแรกที่ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำ จนต่อมาในช่วงปี 1905 ถึง 1962 มีรถประจำทางที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สูบเดียว 4-6 แรงม้าถูกสร้างขึ้นในประเทศเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลิน แล เริ่มให้บริการรถโดยสารในเมืองใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลกและในหลายชุมชน รถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เข้ามาแทนที่รถม้า, เคเบิลคาร์และรถที่ขับเคลื่อนด้วยไอน้ำ

จนพัฒนามาเป็น รถบัส ประจำทางในเมืองเพื่อการพาณิชย์และใช้สำหรับเป็นรถโรงเรียน ในยุคแรกๆ ของ Bus จะเดินทางด้วยความเร็วต่ำ มีประตูสำหรับทางเข้าและทางออก 2 ประตู ที่นั่งที่มีพนักพิงต่ำ มีเสาและราวหลายอันเพื่อให้ผู้โดยสารที่ยืนจับได้เพื่อไม่ให้เสียการทรงตัว นอกจากนั้น ก็ยังมีรถโดยสารที่ใช้เดินทางสำหรับชานเมืองหรือการเดินทางระยะสั้นระหว่างชุมชนต่างๆ จะมีเบาะนั่งพนักพิงสูง ชั้นวางสัมภาระ และทางเข้าด้านหน้าเพียงทางเดียว หรือหากว่าเป็น รถบัส โดยสารสำหรับเดินทางระยะไกล จะเป็นรถขนาดใหญ่ขึ้นและมีพื้นที่สำหรับเก็บสัมภาระหรือสินค้า มีที่นั่งที่สะดวกสบายมากขึ้น มีไฟอ่านหนังสือส่วนตัว มีเครื่องปรับอากาศและมีห้องน้ำ สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า 40 คน จนในปัจจุบันพัฒนารูปลักษณ์ที่มันสมัยมากขึ้น, มีให้เลือกใช้ได้ทั้ง  1 ชั้นและ 2 ชั้น เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรูปแบบการบริการที่หลากหลายได้มากขึ้น นั่นเอง

แล้ว รถโค้ช ล่ะ? คืออะไรและมีความเป็นมาอย่างไร?

ก็ต้องบอกว่าที่มาของรถประเภทนี้ ถือกำเนิดขึ้นยุคแรกของวิวัฒนาการของรถโดยสารมากกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล จากรถม้าที่บรรทุกผู้โดยสาร, กระเป๋าเดินทางหรือไปรษณีย์ ดังที่เราได้กล่าวไปแล้วบ้างในข้างต้น โดยรถม้าที่เรียกว่า Carosses à Cinq Sous จะใช้สำหรับคนร่ำรวยและมีอำนาจในศตวรรษที่ 15 ในรัชสมัยของกษัตริย์ Matthias Corvinus ประเทศฮังการี ที่ถือว่าเป็นรถม้าที่เก่าแก่มากที่สุด จากนั้นก็ได้รับการพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นจนได้รับความนิยมไปทั่วยุโรปเพื่อใช้ส่งไปรษณีย์ในปี ค.ศ. 1650 และเมื่อพวกเขาเริ่มต้นในเมืองค็อกส์ การใช้รถส่งไปรษณีย์เหล่านี้ทำให้เกิดคำว่า “รถโค้ช” ที่มาจากคำว่า Stage Coaches (ลากด้วยม้า) นั่นเอง

ศตวรรษที่ 17 และ 18 ได้ปฏิวัติการเดินทาง Stage Coaches จากการเดินทางสัญจรในระยะใกล้ให้มีศักยภาพในการเดินทางที่ไกลขึ้นและสามารถบรรทุกทั้งคนและสิ่งของได้มากขึ้น รถโค้ช หรือ Stage Coaches สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 6 ถึง 12 คน โดยจะนั่งบนม้า นั่งหันหน้าเข้าหากันภายในตู้โดยสารแบบปิด Stage Coaches ขนาดใหญ่บางคัน ซึ่งมักเรียกกันว่า “โค้ชทางยาว” สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 18 คนขึ้นไป

และแม้ว่า Stage Coaches จะมีการพัฒนาเรื่องความสวยงามและขนาดที่สามารถบรรทุกทั้งคนและสิ่งของได้มากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าเป็นการเดินทางที่ช้าเพราะใช้เวลาประมาณ 8 วันในการเดินทางจากลอนดอนไปยังเมืองเอ็กซิเตอร์ (ประมาณ 290 กิโลเมตร หากเดินทางด้วย รถบัส โดยสารในปัจจุบันใช้เวลา 4 ชั่วโมง 10 นาที ตามคาดการณ์ของบริษัทขนส่ง 12Goasia.com) อีกทั้งการเดินทางบนถนนที่มักจะขรุขระและเต็มไปด้วยหลุมบ่อหรือสิ่งกีดขวาง จนในเวลาต่อมาได้มาการซ่อมแซมและพัฒนาเส้นทางถนนให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการสร้างนวัตกรรมของยานหนะติดเครื่องยนต์ เบนซินได้เปลี่ยนวิธีการเดินทางของผู้คน การเดินทางเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเข้าถึงผู้คนจำนวนมากขึ้น โดย Charabanc (คาราบานซ์) เป็นรถติดเครื่องยนต์ที่เก่าแก่ที่สุดคันหนึ่งของโลก ซึ่งใช้สำหรับการเดินทางระยะสั้นและการทัศนศึกษาจนถึงช่วงแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 รถโค้ช แบบใช้เครื่องยนต์แพร่หลายอย่างมาก โดยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเครื่องยนต์และกระบวนการผลิตที่นำไปสู่การใช้อย่างแพร่หลายทั่วสหราชอาณาจักร โดยผู้ให้บริการรถประเภทนี้เจ้าแรกก็คือ Royal Blue Coach Services และผู้ให้บริการเจ้าอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย 

กล่าวโดยสรุปก็คือ ความแตกต่างของ “รถบัส” และ “รถโค้ช” อยู่ที่วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เพราะจากประวัติความเป็นมาของรถทั้งสองชนิดนี้ ก็พอจะสรุปได้แล้วว่ามันคือรถโดยสารที่มีหน้าตาเหมือนกันและมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน ฉะนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่ผู้คนส่วนใหญ่จะเรียกรถทั้งสองชนิดนี้สลับหรือแทนกันได้ และนี่คือความแตกต่างที่สำคัญ

• ขนาดและการบรรจุคน : 

รถบัส : มีขนาดที่หลากหลายแต่มักมีความจุคนที่น้อยกว่า เพราะมักใช้สำหรับการให้บริการในเส้นทางต่างๆ ในระยะสั้น

รถโค้ช : มักมีขนาดใหญ่กว่าและมีจำนวนที่นั่งมากมาย ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งทีมกีฬาหรือกลุ่มคนที่มีจำนวนมากไปยังที่หมายระยะที่ไกล เช่น การเดินทางข้ามจังหวัดหรือประเทศ

• การใชังาน : 

รถบัส : มักให้บริการในเส้นทางในเมืองหรือระยะทางที่สั้นสำหรับทุกคนแบบสาธารณะ, เช่น การขนส่งสาธารณะในเขตเมือง, ชุมชนหรือหมู่บ้าน

รถโค้ช : มักใช้สำหรับการเดินทางระยะทางยาว, เช่น การเดินทางท่องเที่ยว, การแข่งขันกีฬาหรือกิจกรรมที่ต้องการการขนส่งขนาดใหญ่ 

• ความสะดวกสบาย :

รถบัส : มีความหลากหลายตามสไตล์และบริการที่ให้ แต่สิ่งอำนวยความสะดวกจะมีน้อยกว่า เพราะลักษณะการให้บริการระยะสั้น ผู้ใช้บริการจึงไม่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่มากนัก

รถโค้ช : มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในรถ เช่น ทีวี, โต๊ะ, ห้องน้ำและที่นอน เพราะเป็นการบริการรถโดยสารระยะยาว บางครั้งอาจมีระยะเวลาที่ข้ามวันข้ามคืน ฉะนั้น การมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรถโดยสารประเภทนี้ 

ทั้งหมดนี้คือคำตอบว่า ทำไมหลายคนจึงเรียก รถโค้ช ว่า รถบัส? ผ่านความหมายและประวัติศาสตร์อันยาวนานของรถโดยสารทั้งสองชนิดนี้ และไม่ว่าคุณจะเรียกมันว่าอะไร?! ที่ ธนัชวิชญ์ แทรเวล กรุ๊ป จำกัด เราก็พร้อมให้บริการแก่คุณ เพราะเรามีให้คุณเลือกใช้บริการเช่าทั้งรถบัสธรรมดา, รถบัสสองชั้นและแบบพรีเมี่ยม หรือรถโค้ช Platinum Double Decker ขนาด 50 ที่นั่ง พร้อมการบริการแบบ Platinum ที่มี สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ให้คุณได้มั่นใจในความปลอดภัยทุกการเดินทางของคุณ ด้วยพนักงานขับรถที่มีความชำนาญและประสบการณ์การขับรถกว่า 7 ปี คอยบริการให้คุณตลอดการเดินทาง

สนใจเช่ารถบัส ติดต่อเรา บริษัท ธนัชวิชญ์ แทรเวล กรุ๊ป จำกัด

โทร: 02-578-1199, 02-578-4973-77, 02-943-2900

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top